messager
 
องค์การบริหารส่วนตำบลปราสาท thumb_up กระดานสนทนา call ข้อมูลการติดต่อ

องค์การบริหารส่วนตำบล
ปราสาท
อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ

ยินดีต้อนรับ เข้าสู่เว็บไซต์ องค์การบริหารส่วนตำบลปราสาท อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ
insert_drive_file ข้อมูลหน่วยงาน
ประวัติขององค์การบริหารส่วนตำบลปราสาท
องค์การบริหารส่วนตำบลปราสาท จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่มที่ 111 ตอนที่ 53 ก ลงวันที่ 2 ธันวาคม 2537 ด้วยพื้นที่ 45 ตารางกิโลเมตร
สภาพทั่วไป
รอปรับปรุง
ที่ตั้ง
ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลปราสาท อยู่ทางทิศเหนือของที่ว่าการอำเภอห้วยทับทัน ตั้งอยู่ บ้านโนนดั่ง หมู่ที่ 12 ตำบลปราสาท อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ มีระยะทางห่างจากอำเภอห้วยทับทัน ประมาณ 10 กิโลเมตร
เนื้อที่
ตำบลปราสาทมีเนื้อที่ประมาณ 45 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 12,692 ไร่
ภูมิประเทศ
สภาพทั่วไปของตำบลปราสาท มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มสภาพดินเป็นดินร่วนปนทราย ซึ่งเหมาะแก่การเพาะปลูก ข้าว พืชไร่ ไม้ยืนต้น โดยมีอาณาเขต ติดต่อกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ดังต่อไปนี้ ทิศเหนือ จรด ตำบลเมืองจันทร์ อำเภอเมืองจันทร์ ทิศตะวันออก จรด ตำบลหนองไฮ และตำบลหนองห้าง อำเภออุทุมพรพิสัย ทิศตะวันตก จรด ตำบลสะโน อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์ ทิศใต้ จรด ตำบลห้วยทับทัน อำเภอห้วยทับทัน
ประชากร
ประชากรทั้งสิ้น 7,479 คน แยกเป็นชาย 3,801 คน หญิง 3,678 คน มี 1,697 ครัวเรือน มีความหนาแน่นเฉลี่ย 66 คน / ตารางกิโลเมตร จำนวนหมู่บ้าน ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 16 หมู่บ้าน ดังนี้ ( ที่มา : สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง ณ เดือน 30 กันยายน 2565 ) หมู่ที่ ชื่อบ้าน จำนวนประชากร ชื่อผู้นำ ชาย หญิง รวม 1 ปราสาท 310 320 630 นายเกี้ยง ทองงาม 2 กอเลา 266 251 517 นางจงรักษ์ ศรปราบ 3 หนองฮะ 283 300 583 นายอุดม หาญภิรมย์ 4 ขะยูง 297 266 563 นายทองใส พันธ์เพ็ชร 5 หนองอาคูณ 288 304 592 นายอนันต์ ประยงค์หอม 6 หว้า 218 206 424 นายประมวล เจริญเกียรติ 7 อีสร้อย 76 64 140 นางบุหงา โสภา 8 ปะโด๊ะ 431 399 830 นายสุรินทร์ เมืองจันทร์ 9 พะเนา 175 188 363 นายวิชัย ห่อไทยสงค์ 10 ระหุ่ง 238 211 449 นายประภาค สุขจันทร์ 11 โนนโก 115 102 217 นายประเสริฐ ไชยบำรุง 12 โนนดั่ง 318 330 648 นายเพียรชัย สุขจันทร์ 13 หนองนา 118 95 213 นายเสี่ยน วงศ์ษา 14 กัลพฤกษ์ 213 219 432 นายสมเพียร พรหมจันทร์ 15 กะทิ 331 308 639 นางชุติมา สุขจันทร์ 16 ขยับ 124 115 239 นายสมชิด พิมพ์การ รวม 3801 3678 7479
สภาพทางเศรษฐกิจ
อาชีพ ประชากรส่วนใหญ่ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลปราสาท ประกอบอาชีพการเกษตรเป็นอาชีพหลัก และยังอาศัยแหล่งน้ำตามธรรมชาติประกอบอาชีพ รายได้ไม่แน่นอน พร้อมกันนี้ประชากรยังขาดความรู้ ความสามารถ และเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาเป็นปัจจัยในการผลิต รายได้ต่อหัวต่อคนอยู่ในเกณฑ์ต่ำ เห็นควรจัดให้มีอาชีพเสริมเพื่อเป็นรายได้ให้แก่ครอบครัวในช่วงหลังฤดูการทำนา การเกษตร องค์การบริหารส่วนตำบลปราสาท มีพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด 12,629 ไร่ ส่วนมากปลูกข้าวเป็นหลัก หลังจากฤดูเก็บเกี่ยว ปลูกพริก เป็นรายได้เสริม รับจ้างทั่วไป หลังสิ้นฤดูเก็บเกี่ยวราษฎร์จะออกไปทำงานยังต่างจังหวัดเพื่อรับจ้างทั่วไป ส่วนมากเป็นการใช้แรงงาน การค้าขาย เป็นร้านค้าปลีกขนาดเล็ก ขายของเบ็ดเตล็ดทั่วไป การปศุสัตว์ ประชากรส่วนใหญ่เลี้ยง โค กระบือ สุกร เป็ด ไก่ ฯลฯ ไว้เพื่ออุปโภคบริโภคและใช้แรงงานในครัวเรือนพร้อมทั้งขายเป็นรายได้เสริม การพานิชยกรรมและบริการ การประกอบการพานิชยกรรมและบริการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลปราสาท ส่วนใหญ่แล้วเป็นการพานิชยกรรมและบริการขนาดเล็ก - ปั้มน้ำมันหลอดขนาดเล็ก 7 แห่ง -โรงสี 33 แห่ง การท่องเที่ยว ตำบลปราสาทมีโบราณสถานสำคัญที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว คือ ปราสาทบ้านโนนธาตุ ตั้งอยู่บริเวณวัดบ้านปราสาท หมู่ 12 ตำบลปราสาท อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ
ด้านการเมืองการบริหาร
ด้านการเมือง-การบริหาร โครงสร้างและอำนาจหน้าที่ในการบริการของ องค์การบริหารส่วนตำบลปราสาท องค์การบริหารส่วนตำบลปราสาท จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่มที่ 111 ตอนที่ 53 ก ลงวันที่ 2 ธันวาคม 2537 การบริหาร เป็นการปกครองท้องถิ่นรูปแบบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ในรูปแบบการบริหารของคณะผู้บริหาร ซึ่งการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลปราสาท มีโครงสร้างดังนี้ ฝ่ายนิติบัญญัติหรือฝ่ายสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วยสมาชิกสภาจำนวน 32 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งจากประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลปราสาท และอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี
ความเป็นมาของอำเภออุทุมพรพิสัย และอำเภอห้วยทับทัน
รอปรับปรุง
อำเภออุทุมพรพิสัย
เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดศรีสะเกษ (ในอดีตเขียนว่าอุทุมพรพิไส) เป็นอำเภอเก่าแก่ของจังหวัดศรีสะเกษ (แรกเริ่มก่อตั้งจังหวัดศรีสะเกษ มี 6 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอกันทรารมย์ อำเภอกันทรลักษ์ อำเภอขุขันธ์ อำเภอราศีไศล อำเภออุทุมพรพิสัย) เป็นอำเภอที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เคยเสด็จพระราชดำเนินทางรถไฟเยี่ยมพสกนิกรเมื่อครั้งอดีต เป็นอำเภอที่มีความหนาแน่นของประชากรสูงที่สุดของจังหวัดศรีสะเกษ มีอำเภอ ที่แยกจากอำเภออุทุมพรพิสัย ไปแล้ว 4 อำเภอ คือ อำเภอห้วยทับทัน อำเภอบึงบูรณ์ อำเภอเมืองจันทร์ และอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ
อำเภอห้วยทับทัน
คำว่า “ห้วยทับทัน” สืบได้ความว่า ในสมัยรัชกาลที่ 1 เมื่อเจ้าอนุวงษ์แห่งเวียงจันทร์เป็น กบฎต่อไทย ได้ยกกองทัพไปยึดเมืองราชสีมาเอาไว้ กองทัพทางกรุงเทพมหานครได้ยกติดตามกองทัพลาว ซึ่งปราชัยต่อกองกำลังคุณหญิงโม ที่ทุ่งสัมฤทธิ์ กองทัพไทยส่วนหนึ่งได้ยกติดตามมาทันกองทัพลาวที่ลำห้วยแห่งนี้ จึงได้ชื่อว่า “ห้วยทัพทัน” บางพวกก็ว่า “ห้วยทับทัน” เกิดขึ้นในคราวศึกปราบฮ่อ สมัยรัชกาลที่ 5 ขบวนทัพที่จะยกไปปราบฮ่อได้มาตั้งพลับพลาที่ประทับแรมที่ต้นมะม่วงใหญ่ หน้าที่ว่าการอำเภอในปัจจุบัน ทัพหน้าเป็นขบวนม้า ทัพหลังเป็นขบวนช้าง ทัพหลังได้เดินทางมาทันทัพหน้าที่บริเวณแห่งนี้ จึงเรียกที่แห่งนี้ว่า “ลำห้วยทัพมาทันกัน” พูดไปพูดมาเพี้ยนไปเหลือแต่คำว่า “ห้วยทับทัน” เดิมอำเภอห้วยทับทันขึ้นอยู่กับเขตการปกครองของอำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ ต่อมากระทรวงมหาดไทยได้ประกาศตั้งเป็นกิ่งอำเภอห้วยทับทัน เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2520 ทำการเปิดกิ่งอำเภอเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2520 โดยใช้ศาลาวัดประชารังสรรค์เป็นสถานที่ทำการกิ่งอำเภอ และได้รับงบประมาณในการก่อสร้างที่ว่าการอำเภอถาวร เมื่อปี 2524 ต่อมากระทรวงมหาดไทยได้ประกาศยกฐานะเป็นอำเภอเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2529 ที่ตั้งและอาณาเขต อำเภอห้วยทับทันตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัดศรีสะเกษ มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเมืองจันทร์ ทิศใต้ ต่อต่อกับอำเภอปรางค์กู่ ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภออุทุมพรพิสัย ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดสุรินทร์ การปกครอง อำเภอห้วยทับทัน มีพื้นที่ 194.586 ตารางกิโลเมตร แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 5 ตำบล 81 หมู่บ้าน และ 2 เทศบาลตำบล ดังนี้คือ 1. ตำบลกล้วยกว้าง มี 13 หมู่บ้าน 2. ตำบลผักไหม มี 17 หมู่บ้าน 3. ตำบลเมืองหลวง มี 14 หมู่บ้าน 4. ตำบลปราสาท มี 16 หมู่บ้าน 5. ตำบลห้วยทับทัน มี 8 หมู่บ้าน 6. เทศบาลตำบลจานแสนไชย มี 12 หมู่บ้าน 7. เทศบาลตำบลห้วยทับทัน
ความเป็นมา และประวัติตำบลปราสาท
รอปรับปรุง
สมัยก่อนการตั้งบ้านเรือน
จากการขุดค้นทางโบราณคดีที่บ้านโนนธาตุ - ปราสาทครั้งนี้ทำให้ทราบว่าคนแรกที่มาบุกป่าถางพงที่นี่คือคนตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อประมาณ 1,500-3,000 ปีมาแล้ว ซึ่งสามารถแบ่งเป็นชั้นวัฒนธรรม ดังนี้ ชั้นวัฒนธรรมแรกและชั้นวัฒนธรรมที่สอง เมื่อศึกษาภาชระดินเผาทำให้ทราบว่าคนแรกที่มาบุกป่าถางพงที่นี่คือคนตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อประมาณ 1,500-3,000 ปีมาแล้วและเป็นคนที่อยู่ในสังคมเดียวกับพื้นที่อื่นๆ เช่น ทุ่งกุลาร้องไห้ทางทิศเหนือ หรือ ทุ่งสำริดทางทิศตะวันตก ผู้คนที่นี่เลือกใช้ข้าวของเครื่องครัวหรือเครื่องประดับแบบเดียวกับคนในพื้นที่อื่นๆ ใช้กัน ทันสมัยไม่แพ้กัน แม้การฝังศพก็คล้ายกันและที่สำคัญเป็นเกษตรกรทำนาปลูกข้าวด้วยเช่นกัน แต่จะขอกำหนดตามหลักฐานดังกล่าวด้วยว่าเป็นชุมชนในสมัยยุคเหล็กตอนปลายจนถึงช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อกับสมัย
ประวัติศาสตร์
ชั้นวัฒนธรรมที่สาม เป็นช่วงที่วัฒนธรรมทางศาสนาพราหมณ์แบบขอมโบราณเจริญรุ่งเรืองในพื้นที่นี้และสร้างปราสาทอิฐสามหลังบนฐานเดียวกันไว้ในช่วงประมาณ ๑,๐๐๐-๑,๓๐๐ ปีมาแล้วหรืออยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๕-๑๗ ชั้นวัฒนธรรมที่สี เมื่อศาสนาพราหมณ์แบบขอมโบราณและชุมชนดั้งเดิมร่วงโรยไปจนทิ้งร้างไปแล้ว และด้วยทำเลที่ดีโคกเนินสูงเหมาะสำหรับตั้งบ้านปลูกเรือน ชาวลาวล้านช้างจึงเคลื่อนชุมชนมาที่นี่และบูรณะปราสาทเก่าเป็นยอดปรางค์แบบล้านช้าง เมื่อปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๓ - ต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๔ ชั้นวัฒนธรรมที่ห้า เป็นชั้นวัฒนธรรมของชาวบ้านโนนธาตุ – ปราสาทในปัจจุบัน ที่อพยพเข้ามาตั้งบ้านเรือนเมื่อราว ๑๐๐-๑๕๐ ปีที่แล้วจนถึงปัจจุบัน
การตั้งบ้านเรือน
ประมาณพุทธศตวรรษที่ 21 – 22 ชนพื้นเมืองเขมรป่าดง พวกกูย และข่า ซึ่งเดิมมีถิ่นฐานอยู่แถบเมืองอัตตะปือแสนแป ได้อพยพข้ามแม่น้ำโขงมาทางทิศตะวันตก และตั้งบ้านเรือน ชุมชนเป็นรายทาง ตั้งแต่เขตพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ (ในปัจจุบัน) เป็นชุมชนที่มีทั้งใหญ่และเล็ก บางชนเผ่าเร่ร่อนอยู่ตามป่าลึกกลายเป็นกูย และพวกข่าในสมัยนั้น เช่น ข่าระแด ข่าระบอง และข่าตองเหลือง พวกเร่ร่อนทำมาหากินโดยอาศัยผลิตผลจากป่าเป็นหลัก เมื่อเห็นที่เหมาะสมก็จะปักหลักทำมาหากินอยู่สักระยะหนึ่งก็เคลื่อนที่ไปตั้งหลักแหล่งที่ใหม่เรื่อย ๆ พวกนี้ขี้อายถือสันโดษไม่คิดร้ายต่อใครมักถูกจับมาขาย หรือมาใช้งานกันในสมัยนั้น ชนเผ่ากูยมีวัฒนธรรมประเพณีเป็นของตนเองและมีความถนัดในการจับช้างป่า และการเลี้ยงช้าง ภายหลังจากชุมชนลาวจากเวียงจันทร์ อพยพลงใต้มาตั้งอาณาจักรใหม่ที่นครจำบากนาคบุรี หรือนครจำปาศักดิ์วัฒนธรรมลาวก็แผ่อิทธิพลไปทั่วบริเวณนี้ พวกเหล่าสานุศิษย์พระครูโพนสะเม็กได้อพยพเร่ร่อนตามลำน้ำมูลเข้ามาตั้งหลักแหล่งกระจายกันอยู่กับชุมชนกวยที่มีอยู่ก่อนแล้ว ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมวิถีชีวิตความเป็นอยู่แม่จะต่างภาษาก็อยู่กันฉันท์พี่น้อง ซึ่งชุมชนในแถบนี้อยู่ในอำนาจปกครองนครจำปาศักดิ์จวบจนหัวหน้าชุมชนกูยได้ช่วยงานติดตามช้างเผือกส่งคืนพระเจ้าอยู่หัวแห่งอยุธยา พร้อมได้รับความชอบให้รับตำแหน่งราชการขึ้นตรงต่อเมืองพิมาย ซึ่งก็เป็นส่วนหนึ่งของอยุธยา เมื่ออิทธิพลของจำปาศักดิ์เสื่อมถ่อยลงและอิทธิพลของไทยเข้ามาแทนที่ในสมัยธนบุรี หมู่บ้านปราสาทตั้งมาประมาณปี พุทธศักราช 2425 โดยอพยพมาจากบ้านทุ่มต.เมืองจันทร์เดิม แบ่งการปกครองออกเป็น 4 หมู่บ้าน คือ บ้านโนนธาตุ บ้านโนนดั่ง บ้านบาก และบ้านปราสาท พ.ศ. 2532 อำเภอห้วยทับทันได้แบ่งเขตการปกครองเพิ่มอีก 1 ตำบล เป็นตำบลปราสาท ซึ่งแยกออกจากตำบลห้วยทับทัน โดยนายพุทธา คะหาญ เป็นกำนันตำบลปราสาท คนแรกเดิมทีองค์การบริหารส่วนตำบลปราสาท เป็นสภาตำบลปราสาท และได้รับการยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลปราสาทพร้อมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นรวม 2,143 แห่งเมื่อวันที่ 19 มกราคม พุทธศักราช 2539 ซึ่งได้ลงในราชกิจจานุเบกษา และมีผลบังคับใช้ในวันที่ 30 มีนาคม พุทธศักราช 2539 จนถึงปัจจุบัน